(เจาะรายละเอียด)กว่าจะมาเป็นตุ๊กตาบางกอกดอลล์

กว่าจะมาเป็นตุ๊กตาบางกอกดอลล์…

“เริ่มต้นมาจากคำพูดของคนที่อยู่องค์การสหประชาชาติ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับหนึ่ง” โดยอาจารย์อาภัสสร์ จันทวิมล บอกถึงความคิดเริ่มแรกในการทำตุ๊กตาไทยของคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล ซึ่งต้องย้อนไปราว พ.ศ. 2498

สมัยนั้นองค์การสหประชาชาติมีตุ๊กตาของแต่ละชาติเก็บรักษาไว้ และมีคนไทยซึ่งทำงานอยู่ไปด้อม ๆ มอง ๆ แล้วนึกเปรียบว่าเมืองเราก็ขึ้นชื่อในงานฝีมือ เหตุใดตุ๊กตาที่ส่งมาเก็บรักษาจึงประณีตสู้ตุ๊กตาประเทศอื่นไม่ได้ เมื่อมีโอกาสได้เจอคุณหญิงทองก้อน คนไทยคนนั้นก็ได้บ่นถึงเรื่องนี้ขึ้น

ความที่สามีรับราชการ ช่วงนั้นเองคุณหญิงทองก้อนก็มีโอกาสติดตามสามีไปญี่ปุ่นซึ่งได้ชื่อว่ามีความรุ่งเรืองในวิชาการทำตุ๊กตามากที่สุดชาติหนึ่ง เธอจึงถือโอกาสเข้าเรียนที่โอซาวาดอลล์สกูล ซึ่งความรู้ที่ได้ครั้งนั้นได้กลายมาเป็นพื้นฐานอันดียิ่งในเวลาต่อมา (ญี่ปุ่นสอนประกอบอย่างเดียว ไม่สอนการผลิตชิ้นส่วน เพราะต้องการขายของ)

พ.ศ.2499 หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ Free World ตีพิมพ์เรื่องราวของแพทย์หญิงอาเรลี ควิริโน (Alei Quirino) ชาวฟิลิปปินส์ซึ่งทำตุ๊กตาจนประสบผลสำเร็จมีชื่อเสียง “เป็นการดลบันดาลใจอย่างแรง ที่ทำให้เริ่มลงมือทำตุ๊กตาโดยไม่ใช้ชิ้นส่วนที่มาจากประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ยังไม่พอใจ เนื่องจากลักษณะของใบหน้าและรูปร่างไม่เป็นไทย” เป็นความรู้สึกที่คุณหญิงบันทึกในหนังสือครบรอบอายุ 60 ปี (ปัจจุบันคุณหญิงทองก้อนมีอายุ 88 ปี)

หลังจากนั้นไม่นาน บริเวณชั้นสาม อาคาร 9 บนถนนราชดำเนิน ตุ๊กตาบางกอกดอลล์ตัวแรกก็ถูกผลิตขึ้น โดย อภัย จันทวิมล (สามี) ตั้งชื่อว่า “ตุ๊กตาบางกอก” แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “BANGKOK DOLLS” ต่อมาเรียกทับศัพท์ว่า “ตุ๊กตาบางกอกดอลล์” โดยทุกตัวมีเครื่องหมายกำกับว่า Handmade, Bangkok Dolls, Thailand (ตุ๊กตาบางกอกทำด้วยมือในประเทศไทย)

ปีเดียวกันนั้นเองตุ๊กตาละครรำชื่อ “นาง” ก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในนามสมาคมศิษย์เก่าวังหลัง-วัฒนา เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ใน พ.ศ. 2502 ได้ผลิตตุ๊กตาขนาด 12 นิ้ว เป็นตุ๊กตาจับคู่กันตามความต้องการของราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่เจ้าหญิงอเล็กซานดร้าแห่งเค้นท์ ในวโรกาสเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก ตุ๊กตาชุดนี้ผลิตด้วยส่วนประกอบที่ประดิษฐ์ขึ้นเองทั้งสิ้น เป็นรูปพระจับนาง หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย หนุมานรบทศกัณฐ์ หนุมานรบนิลพัท และพระรามหรือพระลักษมณ์รบกับทศกัณฐ์

ต่อมามีการปรับลดขนาดของตุ๊กตาให้เล็กลง คือ ตุ๊กตาขนาด 8 นิ้ว เป็นรูปละครรำ และชาวนา ชาวบ้าน ส่วนโขนยังคงใช้ขนาด 12 นิ้ว เท่าเดิม โดยว่าตุ๊กตาที่อยู่ในความนิยมของตลาดตลอดเวลา 30 ปี คือ ชุดโขนและละคร

ตุ๊กตาบางกอกดอลล์มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตาโขน ละครรำ วรรณคดี ชีวิตชาวไทยในชนบท และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ รวมถึงการผลิตขึ้นตามวาระพิเศษ หรือตามความต้องการของผู้สั่งทำ ซึ่งการผลิตแต่ละขั้นตอนล้วนแต่ทำด้วยมือทั้งสิ้น

ทั้งนี้ รศ.อาภัสสร์ ยังให้ความรู้เพิ่มเติมอีกว่า บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ เริ่มจากการสะสมตุ๊กตา ก่อนที่จะขยับมาเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างที่เห็นกัน อีกทั้งยังเป็นเจ้าแรกที่ทำตุ๊กตาจากผ้าในสมัยก่อน สินค้าตุ๊กตาบางกอกดอลล์ที่ขายดีที่สุดจะเป็น ชุดรามเกียรติ์ เพราะเป็นศิลปะที่สวยงามในตัวเอง เมื่อก่อนจะมีขนาดเดียว 12 นิ้ว แต่ปัจจุบันเพื่อการตลาด จึงลดเหลือ 8 นิ้ว แล้วก็ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนมากลูกค้าจะเป็นชาวต่างชาติมากกว่าคนไทย

 

รางวัลต่าง ๆ มากมายที่บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ได้รับและจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมกันไม่ขาดสาย เป็นเสียงตอบรับที่สามารถรับรองได้ถึงคุณภาพและความงดงามของเหล่าตุ๊กตาเหล่านี้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานหัตศิลป์ต้องไปดูด้วยตาตัวเองว่าตุ๊กตาบางกอกดอลล์เหล่านี้น่าสนใจเพียงใด

 

ที่มา : http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2885

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจ
๒. เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา
๓. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต
๔. เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรมไทย

แผนที่การเดินทาง รายละเอียด

ที่ตั้ง : 85 ซ. รัชฏภัณฑ์ (หมอเหล็ง) ถ. ราชปรารถ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. (แฟ็กซ์) :             0-2245-3008
รถประจำทาง : 13, 14, 54, 62, 63, 72, 73, 74
รถปรับอากาศ : ปอ.13, ปอ.15, ปอ.62, ปอ.72, ปอ.73, ปอ.พ20,เวลาทำการ : จันทร์ – เสาร์ เวลา 8.30-17.00 น.
วันหยุดทำการ : วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม

ที่มาจาก : http://www.thaifolk.com/Doc/craft2.htm

พิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาบางกอกดอลล์

บางกอกดอลล์

          

           งานฝีมือประดิษฐ์ประดอยเป็นเรื่องหนึ่งที่คนไทยเราทำได้ดีไม่แพ้ชาติใด
     ศิลปหัตถกรรมที่ต้องใช้ความละเอียด ประณีตสูง อย่างเช่นการประดิษฐ์ตุ๊กตาฝีมือคนไทย
    ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นานาชาติให้การยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะตุ๊กตาบางกอกดอลล์ข
องคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล นั้นนับเป็นส่วนที่ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไม่น้อยเลยทีเดียว

ตุ๊กตาบางกอกดอลล์นับหมื่นตัวถูกบรรจงตกแต่งขึ้นมาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตาโขน 
ละครรำ ชีวิตชาวไทยในชนบท และชาวเขาเผ่าต่างๆ รวมถึงการผลิตขึ้นตามวาระพิเศษ 
หรือตามความต้องการของผู้สั่งทำ ซึ่งการผลิตแต่ละขั้นตอนล้วนแต่ทำด้วยมือทั้งสิ้น

          ด้วยความสวยงามและคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ไทย "ตุ๊กตาบางกอกดอลล์" 
จึงถูกนำไปเป็นของขวัญสำหรับบุคคลสำคัญระดับประมุขของประเทศ รวมทั้งแขกบ้านแขกเมืองที่
มาเยือนเมืองไทยในหลายครั้งหลายครา อีกทั้งยังเคยพิชิตรางวัลชนะเลิศการประกวดตุ๊กตาพื้นเมืองนานาชาติ
ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศโปรแลนด์ เมื่อปี 2521 จึงกล่าวได้ว่า ตุ๊กตาบางกอกดอลล์ 
เป็นที่รู้จักของนานาชาติและนักสะสมมานานนับสิบปีแล้ว

นอกจากนี้ ตุ๊กตาบางกอกดอลล์ยังถูกนำไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
เช่น ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นครชิคาโก ในสหรัฐอเมริกา และกรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย
ส่วนในประเทศไทยเองได้แก่ที่ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด พิพิธภัณฑ์โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
และวิทยาลัยครูในจังหวัดฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ รวมทั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
บางแสน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี

          ความวิจิตรงดงามของตุ๊กตาบางกอกดอลล์ มิใช่เพียงการสร้างแบบให้มีรูปลักษณ์ดูสมจริงเท่านั้น
 แต่ยังพรั่งพร้อมด้วยเครื่องประดับ-เครื่องแต่งกายที่ออกแบบได้อย่างสวยงามลงตัว 
นับเป็นผลิตผลทางศิลปกรรมทั้งจากช่างฝีมือที่มีความรู้ ความชำนาญสูง 
และศิลปินอีกหลายท่านที่มีส่วนร่วมในการประดิษฐ์ผลงาน อาทิ หลวงวิศาลศิลปกรรม
(เชื้อ ปัทมจินดา) นายเรวัต เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา นายชิต เหรียญประชา ศาสตราจารย์ศิลป์ 
พีระศรี และนายประชุม มะนะผลงานเป็นจำนวนนับหมื่นๆ ชิ้นที่ผลิตขึ้น ณ บางกอกดอลล์แห่งนี้
มีทั้งส่วนที่ผลิตขึ้นเพื่อการจำหน่ายและจัดแสดง ซึ่งมีตัวอย่างให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้พบเห็นตุ๊กตาไทยในรูปแบบต่าง
มากมาย รวมทั้งยังมีมุมของตุ๊กตานานาชาติแสดงไว้อีกด้วย

ที่มาจาก : http://www.thaifolk.com/Doc/craft2.htm